1833 20 อุทกวิทยาเกษตร ( Agricultural Hydrology)

1833 20 อุทกวิทยาเกษตร ( Agricultural Hydrology) แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วนหลักด้วยกันคือ

ส่วนแรกเนื้อหาพื้นฐาน ประกอบไปด้วยบทที่ 1-3,

ส่วนที่สองน้ำในบรรยากาศ ประกอบไปด้วยบทที่ 4 และบทที่ 5,

ส่วนที่สามน้ำใต้ดินประกอบไปด้วย บทที่ 6 และ บทที่ 7

ส่วนที่สีน้ำผิวดินประกอบไปด้วยบทที่ 8-10

ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมด 10 บทดังนี้ บทที่ 1 บทนำ ( Introduction ) กล่าวถึงความหมายของอุทกวิทยา ( Hydrology ) ความสัมพันธ์ของวัฎจักรของน้ำ และระเบียบวิธีอุทกวิทยา, บทที่ 2 พื้นที่รับน้ำและสมดุลน้ำ (Watershed and Water Balance) อธิบายความหมายและคุณลักษณะเชิงภูมิประเทศและเชิงเก็บกักของพื้นที่รับน้ำพร้อมทั้งวิธีการคำนวณ, บทที่ 3 สถิติในอุทกวิทยา (Statistics in Hydrology) กล่าวถึงการใช้สถิติในการจัดการข้อมูลทางอุทกวิทยา เช่นข้อมูลน้ำฝน น้ำท่า ที่ใช้ในการออกแบบ,

บทที่ 4 ฝน ( precipitation ) เป็นบทที่อธิบายกระบวนการการเกิดฝน และวิธีการคำนวณปริมาณฝน, บทที่ 5 การระเหย (evaporation) อธิบายถึงวิธีการคำนวณการระเหยเนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การแผ่รังสี การใช้สมการ และ การวัดการระเหยจากถาดวัดการระเหย,

บทที่ 6 น้ำใต้ดิน ( Groundwater ) และ บทที่ 7 น้ำในดิน ( soil water ) เป็นบทที่มีความคลายคลึงกัน ซึ่งจะอธิบายถึง การเก็บกักน้ำใต้ดินและในดิน พร้องทั้งการคำนวณหาปริมาณของน้ำที่มีอยู่ในชั้นดิน และการคำนวณอัตราการไหลเข้าบ่อบาดาล,

บทที่ 8 น้ำที่ไหลบนผิวดิน ( surface flow ) ซึ่งบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงวิธีคำนวณหาอัตราการไหลบ่าที่เกิดขึ้นเนื่องจากฝน ซึ่งต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในบทที่ 2พื้นที่รับน้ำประกอบ, บทที่ 9 กราฟอุทกหนึ่งหน่วย ( Unit Hydrograph) อธิบายถึงวิธีการหากราฟความสัมพันธ์ของอัตราการไหลกับเวลาในพื้นที่ และสุดท้าย บทที่ 10 การวิเคราะห์น้ำท่วม (Flood analysis) อธิบายถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจาก กราฟอุทกหนึ่งหน่วย เพื่อหาเวลาและอัตราการไหลสูงสุดและโอกาสที่จะเกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น วิธีทางสถิติ สูตรคำนวณ เพื่อใช้ในการออกแบบทางชลประทาน หรือ อาคารชลศาสตร์

Skill Level: Beginner