การศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้างจะเป็น"การศึกษาสถาปัตยกรรมของโลก"โดยจะทำการศึกษารูปทรงสัณฐานทางเรขาคณิต ความสมมาตร พร้อมกับความงดงาม (elegance) ทางศิลปกรรมของโลกสร้างขึ้นมาแล้วในอดีตถึงปัจจุบัน และจะต่อไปในอนาคต และกำลังสร้าง กลุ่มหรือหมู่หินต่างๆ ซึ่งไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่จะมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาปรากฏ โลกมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา โดยอาจจะเป็นไปอย่างช้าๆ จนแทบจะไม่สามารถสังเกตได้ เช่น การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ การเกิดแผ่นดินไหว ดังนั้นชุดหินจึงมีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวที่ว่า "โลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (the dynamic earth)" หัวใจของการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้าง คือ การศึกษา "การเปลี่ยนลักษณะ (deformation)" ของโลก การเปลี่ยนลักษณะจะป็นคำที่กล่าวมากที่สุด

เนื้อหาของธรณีวิทยาโครงสร้าง ผู้สอนแบ่งออกเป็น 10บท ได้แก่ (1)ความรู้เบื้องต้นของธรณีวิทยาโครงสร้าง, (2)การวิเคราะห์เชิงไคเนมาติกส์, (3) การวิเคราะห์เชิงพลศาสตร์, (4) โครงสร้างขนาดไมโครและกลไกการเปลี่ยนลักษณะ, (5) รอยแยกและรอยแตกเฉือน, (6) รอยเลื่อน, (7) ชั้นหินคดโค้ง, (8) แนวแตกเรียบ ริ้วขนาน และโครงสร้างแนวเส้น, (9) เขตรอยเฉือน, (10)เพลทเทคโทนิคส์

ผู้สอนใช้เวลาสอน 15 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ชั่วโมง และมีภาคปฏิบัติอีก 3 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหาของบทเรียนมีค่อนข้างมาก รวมทั้งออกทัศนะึศึกษาอีก 4-8 วัน เนื้อหาทั้ง 10บท ผู้สอนได้เขียนเป็นตำราประกอบการสอน ดังนั้นจึงใช้หนังสือที่ผู้สอนเขียน ควบคู่กับตำราของ Davis and Reynolds (1996) เป็นตำราบังคับ ที่นักศึกษาจำเป็นต้องอ่าน ประกอบ

ผู้สอนต้องการให้นักศึกษาใช้ทั้งตำราอย่างน้อยที่สุด คือ ของ Davis and Reynolds: Structural geology of rocks and regions ซึ่งแต่งโดย George H. Davis and Stephen J. Reynolds เพราะเห็นว่าเป็นตำราที่มีเนื้อสมบูรณ์ตามหลักสูตร อีกทั้งเป็นภาษาอังกฤษที่อ่านง่ายและสนุก เพราะผู้แต่งเขียนแบบสอดแทรกประสบการณ์พร้อมกับมีภาพประกอบชัดเจน ตำราประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น Structural geology: Principles, concepts, and problems แต่งโดย Robert D. Hatcher และ The techniques of modern structural geology แต่งโดย John G. Ramsay and Martin I. Huber นักศึกษาควรอ่านเช่นกัน เพราะแต่ละเล่มจะมีภาพตัวอย่างที่แตกต่างกัน รวมทั้งเทคนิค การแสดงรูปภาพเพื่อบรรยายแตกต่างกัน หากเมื่อได้เห็นภาพตัวอย่างของโครสร้างทางธรณีวิทยามากๆ ก็จะทำให้เข้าใจธรรมชาติของธรณีวิทยามากยิ่งขึ้นซึ่ง

วัตถุประสงค์ของวิชา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงสถาปัตยกรรมของโลก (หรือการเปลี่ยนลักษณะ) ที่ถูกบันทึกไว้กับหินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (physical and geometric elegance of geologic structures reflecting the nature and origin of crustal deformation through time) และเพื่อให้ทราบถึงการเกิด โครงสร้างต่างๆ ทางธรณีวิทยา (introduce students concepts of geologic structures and structural analysis)

ลักษณะของวิชา เป็นการบรรยายการวิเคราะห์โครงสร้างต่างๆ ทางธรณีวิทยา ในรูปแบบที่ง่ายๆ เพื่อเป็นพื้นฐาน และการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้างขั้นรายละเอียด (detailed structural analysis) ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive analysis), (2) การวิเคราะห์ศึกษาเชิงไคนิมาติกส์ (kinematic analysis, และ(3) การวิเคราะห์ศึกษาเชิงพลศาสตร์ (dynamic analysis)

เกรดและการสอบและกฏเกณฑ์

1. นักศึกษาจะต้องเรียนครบ 80% จึงจะมีสิทธิ์สอบ (เกิน 9 ชั่วโมง ไม่มีสิทธ์สอบ)

2. ในระหว่างที่เรียนจะมีการสอบ quizzes โดยไม่บอกล่วงหน้า ซึ่งคะแนนทดสอบย่อย 20% กลางเทอม 20% ปลายเทอม 20% ปฏิบัติการ 20% การบ้านและ assignment อื่นๆ 20%

3. เมื่อเรียนจบในแต่ละบท การบ้านท้ายบทจะต้องทำการบ้านท้ายบทจะต้องส่งในวันจันทร์ของอาทิตย์ต่อไป ถ้าส่งช้าจะถูกตัดคะแนน วันละ 2 คะแนน ไปเรื่อยๆ และห้ามคัดลอก

4. นักศึกษาแต่ละคนจะต้องคิดโครงการทดลองทางโครงสร้าง โดยที่แต่ละคนจะต้องทำไม่เหมือนกัน และไม่ทำซำ้้กับรุ่นพี่ที่ได้ทำมาแล้ว (สอบถามจากอาจารย์ หรือรุ่นพี่) ก่อนซึ่งเท่าที่ผ่านมา แต่ละคนคิดโครงงานได้ดีมาก และไม่ซำ้กับโครงงานเก่าแต่อย่างใด

ตำราประกอบ

เพียงตา สาตรักษ์, 2546, ธรณีวิทยาโครงสร้าง, พิมพ์ครั้งที่ 2, ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 550 หน้า

เพียงตา สาตรักษ์, 2544, คู่มือปฏิบัติการธรณีวิทยาโครงสร้าง, ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 272 หน้า


Davis, G. H., and Reynolds, S. J. 1996. Structural geology of rocks and regions. 2nd ed. New York: John Willey & Sons, Inc. 776p. (Two copies are in our library)

Hatcher, R.D. 1995. Structural geology: Principles, concepts, and problems. 2nd ed. New Jersey: Prince Hall. 525p. (Two copies are in the main library)

Skill Level: Beginner