토픽 개요
- 공통공통
- 주제 1주제 1
บทที่ 1 Poésie et versification (กวีนิพนธ์และฉันทลักษณ์)
ในบทนี้จะพูดถึงความหมายของคำว่า “กวีนิพนธ์” และ “ฉันทลักษณ์”
“กวีนิพนธ์” (poésie) คือ รูปแบบทางศิลปะของการใช้ภาษาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกนึกคิด ความประทับใจและอารมณ์อ่อนไหว โดยอาศัยเสียง คำสัมผัส จังหวะทำนอง ความประสานกลมกลืนของคำ ประโยคและภาพ
“ฉันทลักษณ์” (versification) คือ ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง หรือวิธีเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้วางเป็นแบบไว้
ดังตัวอย่างโคลงที่ชื่อว่า “ Le buffet” มีลักษณะของความเป็นกวีนิพนธ์ด้วยเสียง คำ และ คำสัมผัส ซึ่งก่อให้เกิดเอกภาพและความรู้สึกนึกคิด นอกจากนี้ยังมีการเรียบเรียงคำและประโยคตามระเบียบแบบแผนของฉันทลักษณ์ ที่เรียกว่า “Sonnet” คือประกอบด้วย 14 บาท 2 บทแรกมี 4 บาท และ 2 บทสุดทายมี 3 บาท แต่ละบาทมี 12 พยางค์ แต่ละบทมีเสียงสัมผัส
ส่วนตัวอย่างโคลงที่ชื่อว่า “Icebergs” นั้น เรียกกว่าเป็นกวีนิพนธ์สมัยใหม่ด้วยคำและความหมาย แต่วิธีการเรียบเรียงถ้อยคำไม่เป็นไปตามกฎของฉันทลักษณ์ เนื่องจากไม่มีคำสัมผัส ในแต่ละบาทมีจำนวนพยางค์ไม่เท่ากันและไม่มีจังหวะท่วงทำนอง
Henri Michaux Arthur Rimbaud
- 주제 2주제 2
บทที่ 2 Poésie et prose (ร้อยกรองและร้อยแก้ว)
ร้อยกรองและร้อยแก้วมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ “ร้อยกรอง” หมายถึงถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ ส่วน “ร้อยแก้ว” คือความเรียงที่สละสลวยไพเราะด้วยเสียงและความหมายที่ถูกเรียบเรียงไปตามคำพูด ไม่ใช่คำกาพย์กลอน
Malherbe Jean-Paul Sartre
- 주제 3주제 3
บทที่ 3 Entrée en poésie (นำสู่ประตูแห่งกวีนิพนธ์)
ในบทนี้มีบทกวีให้เลือกอยู่ 5 บท ให้นักศึกษาแต่ละคนเลือก 1 บท ลองอ่านบทกวีนั้น และบอกเหตุผลว่าทำไม่จึงเลือกและบทกวีดังกล่าวสื่อถึงอะไร
Charles Baudelaire Rene Daumal
- 주제 4주제 4
บทที่ 4 โครงสร้างของกวีนิพนธ์ (la Structure)
บทเรียนนี้สอนให้รู้และเข้าใจฉันทลักษณ์ในกวีนิพนธ์ฝรั่งเศส (จำนวนพยางค์, การกำหนดจังหวะ การสัมผัส และชนิดต่างๆ ของบทกวี)
Paul Verlaine Paul Elouard
- 주제 5주제 5
บทที่ 5 การตั้งชื่อบทกวีและแก่นเรื่อง (Le titre et la thématique)
บทเรียนนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ได้เรียนรู้ถึงความหมายของบทกวีและ
การตั้งชื่อ รวมถึงแก่นเรื่องที่ปรากฎในบทกวี
Pierre Gamarra Pierre Corneille
- 주제 6주제 6
บทที่ 6 กลการประพันธ์ (Les figures de style d’un poème)
บทเรียนนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลการประพันธ์แบบต่าง ๆ ที่ใช้ในบทกวี
Guillaume Apollinaire Victor Hugo
- 주제 7주제 7
บทที่ 7 กลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ในบทกวี (Les champs lexicaux utilisés dans un poème)
บทเรียนนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ในบทกวี
- 주제 8주제 8
บทที่ 8 การนำเสนอผลงานของนักศึกษา (La présentation des étudiants)
นักศึกษาเลือกวิเคราะห์บทกวีที่คัดสรรและนำเสนอไว้ใน e-learning
Jacques Prevert Pierre de Ronsard