บทที่ 1 Poésie et versification (กวีนิพนธ์และฉันทลักษณ์)
ในบทนี้จะพูดถึงความหมายของคำว่า “กวีนิพนธ์” และ “ฉันทลักษณ์”
“กวีนิพนธ์” (poésie) คือ รูปแบบทางศิลปะของการใช้ภาษาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกนึกคิด ความประทับใจและอารมณ์อ่อนไหว โดยอาศัยเสียง คำสัมผัส จังหวะทำนอง ความประสานกลมกลืนของคำ ประโยคและภาพ
“ฉันทลักษณ์” (versification) คือ ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง หรือวิธีเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้วางเป็นแบบไว้
ดังตัวอย่างโคลงที่ชื่อว่า “ Le buffet” มีลักษณะของความเป็นกวีนิพนธ์ด้วยเสียง คำ และ คำสัมผัส ซึ่งก่อให้เกิดเอกภาพและความรู้สึกนึกคิด นอกจากนี้ยังมีการเรียบเรียงคำและประโยคตามระเบียบแบบแผนของฉันทลักษณ์ ที่เรียกว่า “Sonnet” คือประกอบด้วย 14 บาท 2 บทแรกมี 4 บาท และ 2 บทสุดทายมี 3 บาท แต่ละบาทมี 12 พยางค์ แต่ละบทมีเสียงสัมผัส
ส่วนตัวอย่างโคลงที่ชื่อว่า “Icebergs” นั้น เรียกกว่าเป็นกวีนิพนธ์สมัยใหม่ด้วยคำและความหมาย แต่วิธีการเรียบเรียงถ้อยคำไม่เป็นไปตามกฎของฉันทลักษณ์ เนื่องจากไม่มีคำสัมผัส ในแต่ละบาทมีจำนวนพยางค์ไม่เท่ากันและไม่มีจังหวะท่วงทำนอง
Henri Michaux Arthur Rimbaud