Sorry, this activity is currently hidden
Topic outline
- General
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับประวัติ
ความหมาย แขนงวิชา เป้าหมายทางเศรษฐกิจ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และค่าต้นทุนค่าเสียโอกาสได้
2.
นักเรียนสามารถวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคได้อย่างชัดเจน
3.
นักเรียนสามารถอธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พื้นฐานได้อย่างถูกต้อง
4.
นักเรียนมีเจตคติที่ดีและเห็นคุณค่าของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
5.
นักเรียนรู้และเข้าใจแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบเศรษฐกิจและการแบ่งกลุ่มทางเศรษฐกิจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบเศรษฐกิจและการแบ่งกลุ่มทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจ
สามารถอธิบายเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและการแบ่งกลุ่มทางเศรษฐกิจได้
2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบเศรษฐกิจได้
3. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจระบบเศรษฐกิจแบบผสมซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้
4. นักเรียนสามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่างๆได้อย่างถูกต้อง
5. นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งสามกิจกรรม
3. นักเรียนสามารถอธิบาย วิเคราะห์ เกี่ยวกับขั้นตอน ปัจจัย ผลตอบแทนของการผลิตได้อย่างถูกต้อง
4. นักเรียนมีทักษะการนำเสนอ สร้างชิ้นงานเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง
ตระหนักและเห็นคุณค่าของการเป็นผู้ผลิตและการเป็นผู้บริโภค
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กลไกราคา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กลไกราคา
เป้าหมายการเรียนรู้
1.
นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอุปสงค์อุปทาน
2.
นักเรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากกลไกราคาได้อย่างถูกต้อง
3.
นักเรียนสามารถอ่านและอธิบายการนำเสนออุปสงค์และอุปทานจากการนำเสนอทั้งสามแบบได้
4.
นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง
การแทรกแซงราคาของรัฐบาลได้
5.
นักเรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่รัฐบาลจะแทรกแซงราคาได้อย่างถูกต้อง
6.
นักเรียนสามารถรู้เรื่องการกำหนดราคา
ค่าจ้าง ตามหลักอุปสงค์ อุปทานได้อย่างถูกต้อง
7.
นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษาเรื่องกลไกราคา
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หน่วยทางธุรกิจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หน่วยทางธุรกิจ
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหน่วยทางธุรกิจ
2. นักเรียนรู้และเข้าใจความหมาย ระบบ และวิธีการของสหกรณ์
3. นักเรียนเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของแต่ละหน่วยทางธุรกิจได้
4. นักเรียนสามารถนำหลักการ วิธีการของสหกรณ์ไปประยุกต์ในการร่วมมือ
หรือเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนได้
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเงินและภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเงินและภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการแลกเปลี่ยนการเงินระหว่างประเทศ
2. นักเรียนสามารถอธิบายผลกระทบเมื่ออัตราการแลกเปลี่ยนการเงินระหว่างประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
3. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อเงินฝืด
4. นักเรียนสามารถอธิบายระดับและการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อเงินฝืดได้
5. นักเรียนสามารถเสนอแนวทางแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืดได้อย่างถูกต้อง
6.
นักเรียนเห็นความสำคัญและตระหนักที่จะเรียนรู้สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมและเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้
2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาของสาขาเกษตรกรรมของประเทศไทยได้
3. นักเรียนเข้าใจภาวะของสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าสาขาอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้
4. นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการผลิตภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย
และสามารถเผยแพร่ความรู้เรื่องดังกล่าวให้กับบุคคลอื่นให้รับทราบได้
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เศรษฐกิจภาครัฐบาล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เศรษฐกิจภาครัฐบาล
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจภาครัฐบาล
2. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร
3. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน
4. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ รายรับ รายจ่ายของรัฐบาลที่สอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณแผ่นดินได้อย่างถูกต้อง
5. นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการเสียภาษีซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของประชาชนในการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การค้าระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การค้าระหว่างประเทศ
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการค้าระหว่างประเทศ
2. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนโยบายการค้า
3. นักเรียนสามารถอธิบาย วิเคราะห์ นโยบายการค้าแบบคุ้มกันได้อย่างถูกต้อง
4. นักเรียนบอกผลกระทบของการเปิดเสรีการเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อสังคมไทยได้
5. นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญ ในการเปิดการค้าแบบเสรีที่ประเทศไทยต้องผันแปรตามสภาวการณ์เศรษฐกิจโลกและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 บัญชีดุลการชำระเงิน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 บัญชีดุลการชำระเงิน
เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องบัญชีดุลการชำระเงิน
2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับบัญชีดุลการชำระเงินได้
3. นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของบัญชีเดินสะพัดในการที่จะนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายการเรียนรู้
1.
นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ
2.
นักเรียนเข้าใจสาระสำคัญของประเทศไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
2558
3.
นักเรียนสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากการรวมกลุ่มประเทศได้
4.
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและสามารถใช้ทักษะกระบวนการอธิบายให้ผู้อื่นรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องได้
5.
ตระหนักและรู้เท่าทันถึงผลดีผลเสียของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆได้
6. นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการที่นักเรียนต้องเตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เป้าหมายการเรียนรู้
1.
นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.
นักเรียนเข้าใจสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่ละแผนได้
3.
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
12 และสามารถใช้ทักษะกระบวนการอธิบายให้ผู้อื่นรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องได้
4.
นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการนำหลักการของแผนไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้